รถไฟฟ้าคันแรกของโลกถูกสร้างขึ้นใน ช่วงศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงที่การปฏิวัติอุตสาหกรรมขยายตัวไปทั่วโลกโดยเฉพาะในยุโรป และเป็นช่วงเวลาที่รถเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine: ICE or IC engine) เริ่มปรากฏขึ้น มีการประดิษฐ์รถยนต์คันแรกโดย Karl Benz ในปี ค.ศ. 1885 (พ.ศ. 2428) โดยรถไฟฟ้าคันแรกถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1830 (พ.ศ. 2373) พัฒนาก่อนรถสันดาปภายใน โดยนักประดิษฐ์ชาวสกอตแลนด์ชื่อ Robert Anderson เขาสร้างรถไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่แบบไม่สามารถชาร์จได้ (Non-rechargeable Battery) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของรถไฟฟ้าในยุคแรก รถไฟฟ้าของ Robert Anderson ถือเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในการเริ่มต้นยุคของยานยนต์ไฟฟ้า
ข้อจำกัดของแบตเตอรี่ของ Robert Anderson ที่ไม่สามารถใช้งานจริงได้ในยุคนั้น
Karl Benz ผลิตรถ Benz Patent-Motorwagen ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์น้ำมันคันแรกของโลก ในปี 1885-1886 (พ.ศ. 2428-2429) รถยนต์ที่ใช้น้ำมันพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพราะเติมเชื้อเพลิงได้ง่ายกว่า และเดินทางได้ไกลกว่ารถไฟฟาในยุคนั้น น้ำมันและมีราคาถูกกว่า ทำให้คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย และปั๊มน้ำมันเกิดขึ้นจำนวนมาก
ผู้พัฒนาแบตเตอรี่สำหรับรถไฟฟ้าคันแรกของโลก
แม้ว่า Robert Anderson จะเป็นผู้สร้างรถไฟฟ้าคันแรก แต่ผู้ออกแบบและติดตั้งระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าในรถไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้จริง และมีประสิทธิภาพถูกพัฒนาขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 โดย Thomas Parker ชาวอังกฤษ ฉายา “The Edison of Europe” ได้สร้างรถไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จได้ (Rechargeable Battery) ในปี ค.ศ. 1884 (พ.ศ. 2427) เขามีส่วนช่วยให้เทคโนโลยีรถไฟฟ้าในรถยนต์ก้าวหน้าและสามารถนำไปใช้ได้จริง
อ้างอิง หนังสือ The Electric Vehicle: Technology and Expectations in the Automobile Age โดย Gijs Mom (ISBN: 978-0801871382) หนังสือนี้กล่าวถึงประวัติศาสตร์รถยนต์ไฟฟ้าและความท้าทายในยุคแรกเริ่ม
เว็บไซต์ Deutsches Museum (German Museum) https://www.deutsches-museum.de/ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับ Flocken Elektrowagen และประวัติศาสตร์รถยนต์ไฟฟ้าในเยอรมนี
บทความจาก IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) https://www.ieee.org/ บทความทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าในศตวรรษที่ 19
เว็บไซต์ USPTO (United States Patent and Trademark Office) https://www.uspto.gov/ ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สิทธิบัตรและกรณีพิพาททางกฎหมาย