Dec 5 , 2023 สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย จัดสัมมาอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย วิกฤต หรือโอกาส สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย ร่วมกับภาครัฐ และเอกชน จัดสัมมาอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย วิกฤต หรือโอกาส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน ประโยชน์ ปัญหา และอุปสรรคของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กับความท้าทายสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่-นโยบายภาครัฐ และแนวทางไปสู่ความสำเร็จ ในงาน "มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 40" ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานจัดงาน "มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 40" "อุตสาหกรรมยานยนต์ เริ่มต้อนมากว่า 60 ปี ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่นำเข้า ผลิต และส่งออก จนทำให้มียอดผลิตถึง 2 ล้านคัน โดยครึ่งหนึ่งจำหน่ายในประเทศและครึ่งนึงส่งออก แต่ปัจจุบันอุตสาห กรรมยานยนต์ ได้เข้าสู่ยุคของรถยนต์ไฟฟ้า ปัญหาอุปสรรคของอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นความท้าทายที่ต้องทำ งานร่วมกัน สู่ความสำเร็จ มีการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นเพื่อให้เกิดประโยชน์" สุพจน์ สุขพิศาล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วน และอะไหล่ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย "ยอดผลิตรถยนต์ในประเทศไทยปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 1.85 ล้านคัน ส่วนปีหน้าคาดว่ายอดผลิตจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาลงทุนมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่เป็นรถไฟฟ้า ซึ่งในส่วนนี้รถไฟฟ้าจะใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศแค่ 30 % อีก 70 % จะเป็นชิ้นส่วนที่นำเข้ามา โดยผู้ผลิตชิ้นส่วนต้องมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ปรับตัวในการพัฒนาการผลิตเพราะปัจจุบัน ต่างประเทศนำคนไทยอยู่ไม่น้อยเรื่องของโนฮาว" ตรีพล บุญยะมาน รองผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ "สถาบันยานยนต์ มุ่งพัฒนาส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรเพื่อต่อยอดบุคลากรด้านยานยนต์ให้มีศักยภาพแ ละมีความเชี่ยวชาญเพื่อส่งเสริมต่อทิศทางของยานยนต์สมัยใหม่" ยุพิน บุญศิริจันทร์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย "ยอดขายรถยนต์ของไทย 10 เดือน แบ่งเป็นรถพิคอัพ 63 % รถยนต์นั่ง 35 % และคอมเมอร์เชียล 2 % จากเดิมรถยนต์ในประเทศไทยจะเน้นที่อยู่ญี่ปุ่นเกินกว่า 90 % และยุโรป และอเมริกา แต่ในอนาคตจะมีรถยนต์จากประ เทศจีนเข้ามาเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการผลักดันเรื่องของยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเราต้องช่วยกันผลักดันให้อุตสาห กรรมยานยนต์ไทยเติบโตในยานยนต์โลก" ดร. พิมพา ลิ้มทองกุล ผู้อำนวยการกลุุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ "แบทเตอรี ถือเป็นส่วนสำคัญในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เพราะราคารถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นราคาแบทเตอรีถึง 40 % ดังนั้น การมุ่งเน้นการผลิตแบทเตอรีในประเทศไทยจะช่วยส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น ดูได้จากปี 2021 ตลาดแบทเตอรีมีมูลค่า 54 ล้านบาท แต่ในปี 2027 มูลค่าตลาดจะเพิ่มเป็น 166 ล้านบาท แต่จะต้องมีการควบคุมเรื่องของคุณภาพ อายุการใช้งานที่นานขึ้น ความปลอดภัยเพิ่มขึ้น และมีราคาลดลง แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องสร้างตลาด" ปรีชา ประเสริฐถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฯ บริษัท ไอ-มอเตอร์แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด "การสร้างตลาดรถไฟฟ้า คือ ต้องมีผู้ผลิตเพิ่มขึ้น บริษัท ไอ-มอเตอร์แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด จึงได้เข้ามาลงทุนเป็นผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าแบรนด์ไทย โดยใช้ชิ้นส่วนในไทย 60 % ในการผลิต และอนาคตจะเพิ่มชิ้นส่วนในประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการสร้างตลาด งานพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่ยอมรับ และส่งออกผลิต ภัณฑ์ของไทยสู่ตลาดโลก" ปริพัตร บูรณสิน คณะทำงานการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC-HDC) "การสร้าง EV Convertion ในรถยนต์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะรถพิคอัพที่มีอยู่ถึง 1.5 ล้านคันที่มีอายุเกิน 10 ปี จะช่วยการสร้างตลาด เปลี่ยนปัญหาให้เป็นโอกาส สร้างรถเก่าให้เป็นไฟฟ้า ผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง หากทำสำเร็จก็จะส่งผลดีต่อทุกฝ่าย" อดิศักดิ์ โรหิตะศุน นายกสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย "อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยสู่ยุคของยานยนต์สมัยใหม่ โดยปีหน้าจะมีบริษัทใหม่เข้ามาลงทุนผลิตในประเทศไทย จากเดิมประเทศไทยเป็นฐานผลิตรถพิคอัพ และได้มีการขยายสู่รถอีโคคาร์ จนทำให้ผู้ผลิตทั้งญี่ปุน ยุโรป อเมริ กาเข้ามาลงทุนผลิตในไทย โดยบางแบรนด์ย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การผลิตในไทยต้องปรับตัวช้าสุด จีนปรับตัวเร็ว ไทยจึงจำเป็นที่ต้องปรับตัวจาก ICE ไปสู่ EV ให้มากขึ้น โดยต้องพยายามหาโนฮาวปรับตัวให้สู่กับการเปลี่ยนแปลงให้ได้"